วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงปลานิล

ปลานิล Tilapia nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยง ระยะเวลา 1 ปีมีอัตราการเติบโตถึงขนาด 500 กรัม รสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวางส่วนขนาดปลาที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้าง จะหายาก กรมประมง จึงได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาเพื่อให้ได้ปลานิลที่มีลักษณะสายพันธุ์ดี อาทิ การเจริญเติบโต ปริมาณความดก ของไข่ ผลผลิตและความต้านทานโรค เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิล จะได้ความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภค


ความเป็นมา
ตามที่พระจักรพรรดิอากิฮิโตเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่นทรงจัดส่ง ปลานิล จำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยตัวละประมาณ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยง ในบ่อดินเนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมา 5 เดือนเศษ ปรากฎว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่ได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วย พระองค์เอง จากบ่อเดิมไป ปล่อยในบ่อ ใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้กรมประมง จัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
โดยที่ปลานิลนี้เป็นปลาจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปีจะมี น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต จึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะ ให้ปลา นี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 จึงทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลานิลนี้ว่า "ปลานิล" และได้พระราชทานปลานิล ขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ ที่แผนทดลอง และเพาะเลี้ยง ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และที่ สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรอีกรวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน ซึ่งเมื่อ ปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะ เลี้ยงตามความ ต้องการต่อไป
รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลชิคลิดี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบทั่วไป ตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดานยูกันดา แทนแกนยีกา โดยที่ปลานิลนี้ เจริญเติบ โตเร็ว และเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดีจึงได้รับความ นิยมและ เลี้ยง กันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเซีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศแต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่าง เสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9-10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน เป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบ แข็งและอ่อนเช่นกันมีเกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่ กระดูก แก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาว และสีดำ ตัดขวางแลด คล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความฝันของฉัน

หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
1. บทนำ คำว่า หน้าที่ (Duty) ตามความหมายใน Dictionary of Education นั้น หมายถึง สิ่งที่ทุกคนต้องทำ โดยปกติแล้วภาวะจำยอมจะเป็นไปตามหลักศีลธรรมแต่บางครั้งก็เป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายของ หน้าที่ ไว้ ดังนี้ คือ กิจที่ควรทำ,กิจที่ต้องทำ,วงแห่งกิจการ, สำหรับคำว่า ความรับผิดชอบ ให้ความหมายไว้ ดังนี้ คือการยอมรับตามผลที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ได้กระทำไป webster s third New Internetionary dictionary ได้ให้คำนิยามของ ความรับผิดชอบ ไว้ ดังนี้ - ความรับผิดชอบด้านศีลธรรม กฎหมาย หรือ จิตใจ - ความไว้ใจ ความเชื่อถือได้ Dictionary of Education ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบไว้ ไว้ว่า “หน้าที่ประจำของแต่ละบุคคล เมื่อเขาได้รับมอบหมายให้งานอย่างใดอย่างหนึ่ง” ส่วนความหมายของครู ในที่นี้จะอธิบายตามรูปคำภาษาอังกฤษ คือ “Teachers” โดยสรุปจากคำอธิบายของ ยนต์ ชุ่มจิต ในหนังสือ ความเป็นครู ดังนี้ (ยนต์ ชุมจิต 2531: น. 49–55) T (Teaching) – การสอน หมายถึง การอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ ความสามารถในวิชาการทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งถือว่าเป็นงานหลักของครูทุกคนทุกระดับชั้นที่สอน ตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. 2526 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่า ครูต้องตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้ และในข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ครูต้องถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพรางไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนเองไปใช้ในทางที่ทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษยชาติ จากข้อกำหนดทั้ง 2 ข้อ ที่นำมากล่าวนี้จะเห็นว่าหน้าที่ของครูที่สำคัญคือการอบรมสั่งสอนศิษย์ การถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ โดยเฉพาะในข้อ 3 ของระเบียบประเพณีของครู พ.ศ. 2526 นี้ ถือว่าการอบรมสั่งสอนศิษย์เป็นหน้าที่ที่สำคัญมาก จะละทิ้งหรือทอดทิ้งไม่ได้เพราะถ้าหากครูละทิ้งการสอนก็คือครูละทิ้งหน้าที่ของครูซึ่งการกระทำเช่นนั้นจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางความคิดและสติปัญญาของศิษย์เป็นอย่างมาก กล่าวคือ ศิษย์ของครูจะไม่ได้รับการพัฒนา ความคิด ความรู้ และสติปัญญา หรือได้รับบ้างแต่ก็ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ดังนั้นครูทุกคนควรตระหนักในการสอนเป็นอันดับแรกโดยถือว่าเป็นหัวใจของความเป็นครูคือการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีมีความรู้ในวิทยาการทั้งปวง ซึ่งการที่ครูจะปฏิบัติหน้าที่ในการสอนของครูได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ซึ่งสำคัญที่ครูต้องเพิ่มสมรรถภาพในการสอนให้แก่ตนเอง E(Ethics)-จริยธรรม หมายถึงหน้าที่ในการอบรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักอีกประการหนึ่งนอกจากการสั่งสอนในด้านวิชาความรู้โดยทั่วไปนอกจากนี้ครูทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมอันเหมาะสมอีกด้วยเพราะพฤติกรรมอันเหมาะสมที่ครูได้แสดงออกจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปลูกฝังศรัทธาให้ศิษย์ได้ปฏิบัติตาม A ( Academic) – วิชาการ หมายถึง ครูต้องมีความรับผิดชอบในวิชาการอยู่เสมอ กล่าวคือ ครูต้องเป็นนักวิชาการอยู่ตลอดเวลา เพราะอาชีพของครูต้องใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ดังนั้นครูทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เป็นประจำ หากไม่กระทำเช่นนั้นจะทำให้ความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้นล้าสมัย ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการใหม่ ๆ ซึ่งมีอย่างมากมายในปัจจุบัน C (Cultural Heritage) – การสืบทอดวัฒนธรรม หมายถึงครูต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งให้ตกทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง หรือ รุ่นต่อ ๆ ไป ซึ่งมีวิธีการที่ครูจะกระทำได้ 2 แนวใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ 1. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามอย่างถูกต้องเป็นประจำ กล่าวคือ ครูทุกคนจะต้องศึกษาให้เข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอย่างถ่องแท้เสียก่อน ต่อจากนั้นจึงปฏิบัติตามให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปยึดถือเป็นแบบอย่าง เช่น - การแต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ - การแสดงความเคารพและกิริยามารยาทแบบไทย ๆ - การจัดงานมงคลสมรส 2. การอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เข้าใจในวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทยอย่างถูกต้อง และในขณะเดียวกันก็กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้ประพฤติปฏิบัติตามให้ถูกต้องตามแบบฉบับอันดีงามที่บรรพบุรุษได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา H ( Human Relationship) – มนุษย์สัมพันธ์ หมายถึง การมีมนุษย์สัมพันธ์อันดีของครูต่อบุคคลทั่วๆไป เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ครูสามารถปฏิบัติหน้าที่ของครู ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูยังช่วยทำให้สถาบันศึกษาที่ครูปฏิบัติงานอยู่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย ดังนั้น ครูทุกคนจึงควรถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบอีกประการหนึ่งที่จะต้องคอยผูกมิตรไมตรีอันดีระหว่าง บุคคลต่าง ๆ ที่ครูมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มนุษย์สัมพันธ์ระหว่างครูกับบุคคลต่าง ๆ อาจจำแนกได้ ดังนี้ ครูกับนักเรียน ครูกับนักเรียนนับว่าเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด จนกระทั่งในอดีตยกย่องให้ครูเป็นบิดาคนที่สองของศิษย์ ผู้ปกครองเมื่อส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนก็ฝากความหวังไว้กับครู กล่าวคือ มอบภาระต่าง ๆ ในการอบรมดูแล ลูกหลานของตนให้แก่ครู ดังนั้น ครูจึงควรปฏิบัติหน้าที่ของครูให้สมบูรณ์ที่สุด และควรสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างครูและศิษย์ให้แน่นแฟ้น ให้ศิษย์มีความรู้สึกฝังใจตลอดไป วิธีการที่ครูควรจะทำต่อศิษย์ เช่น 1. สอนศิษย์ให้เกิดความสามารถในการเรียนรู้ในวิชาการต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่ครูจะกระทำได้ 2. สอนให้นักเรียนหรือศิษย์ของตนมีความสุขเพลิดเพลินกับการเล่าเรียนไม่เบื่อหน่าย อยากจะเรียนอยู่เสมอ 3. อบรมดูแลความประพฤติของศิษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัยหรือกรอบของคุณธรรม ไม่ปล่อยให้ศิษย์กระทำชั่วด้วยประการทั้งปวง 4. ดูแลความทุกข์สุขอยู่เสมอ 5. เป็นที่ปรึกษาหารือ ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ศิษย์ ครูกับครู ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับครูนับว่ามีความสำคัญมากที่สุดต่อการพัฒนาวิชาชีพครู เพราะครูกับครูที่ทำงานสอนอยู่สถานศึกษาเดียวกัน เปรียบเสมือนบุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน หากสมาชิกในครอบครัวเดียวกันมีความสมานสามัคคีอันดีต่อกันแล้ว นอกจากจะทำให้การอบรมสั่งสอนนักเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพแล้ว ยังช่วยให้การปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ การพัฒนาสถานศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครูก็จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว วิธีที่ครูควรปฏิบัติต่อครู เพื่อสร้างมนุษย์สัมพันธ์ต่อกัน เช่น 1. ร่วมมือกันในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติอย่างสม่ำเสมอ 2. ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในทางด้านวิชาการ เช่น การแนะนำการสอน, แนะนำเอกสาร หรือแหล่งวิทยาการให้ 3. ช่วยเหลืองานส่วนตัวซึ่งกันและกันเท่าที่โอกาสจะอำนวย 4. ทำหน้าที่แทนกันเมื่อคราวจำเป็น 5. ให้กำลังใจในการทำงานซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจจะแสดงออกในรูปของวาจาหรือการกระทำก็ได้ 6. กระทำตนให้เป็นผู้มีความสุภาพอ่อนน้อมต่อกันเสมอ ไม่แสดงตนในทำนองยกตนข่มท่าน หรือแสดงตนว่าเราเก่งกว่าผู้อื่น ครูกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองนักเรียนเป็นบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเล่าเรียนของศิษย์และความก้าวหน้าของสถานศึกษา โรงเรียนใดที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาใกล้ชิดโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนนั้นจะสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทั้งด้านคุณภาพการเรียนของนักเรียนและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมรอบ ๆ โรงเรียน วิธีการที่ครูสามารถสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น 1. แจ้งผลการเรียนหรือความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ให้ผู้ปกครองนักเรียนทราบเป็นระยะ ๆ 2. ติดต่อกับผู้ปกครองเพื่อช่วยแก้ปัญหาของศิษย์ในกรณีที่ศิษย์มีปัญหาทางการเรียน ความประพฤติ สุขภาพ อื่น ๆ 3. หาเวลาเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาสอันเหมาะสม เช่น เมื่อได้ข่าวการเจ็บป่วย หรือสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรม เป็นต้น 4. เชิญผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น การแข่งขันกีฬา ประจำปี งานแจกประกาศนียบัตร หรืองานชุมนุมศิษย์เก่า เป็นต้น 5. เมื่อได้รับเชิญไปร่วมงานของผู้ปกครองนักเรียน เช่น งานอุปสมบท งานขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส เป็นต้น ต้องพยายามหาเวลาว่างไปให้ได้ 6. ครูควรร่วมมือกันทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้และอาชีพให้ผู้ปกครองและประชาชนในท้องถิ่นบ้าง จะทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของครูมากยิ่งขึ้น 7. เมื่อชุมชนได้ร่วมมือกันจัดงานต่าง ๆ เช่น งานประจำปีของวัด หรือ งานเทศกาลต่าง ๆ ครูควรให้ความร่วมมืออยู่อย่างสม่ำเสมอ 8. ครูควรแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองได้ทราบเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะส่งข่าวสารทางโรงเรียน หรือการติดประกาศตามที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านก็ได้ นอกจากครูจะต้องพยายามสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งถือว่า เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับครู และครูก็ต้องเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลาแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลอื่น ๆ ที่ครูจะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วยอีก เช่น พระภิกษุกับบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ในวัดซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินการงานต่าง ๆ ของ โรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากขึ้น ส่วนประชาชนทั่วไปนั้นหากได้รับความประทับใจ เมื่อมาติดต่องานกับโรงเรียน ก็จะเป็นส่วนเป็นพลังอีกส่วนหนึ่งที่คอยสนับสนุนงานการศึกษาของโรงเรียนให้ก้าวหน้าต่อไป E (Evaluation) – การประเมินผล หมายถึงการประเมินผลการเรียนการสอนนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของครูเพราะการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัดความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ในด้านต่างๆหากครูสอนแล้วไม่มีการประเมินผลหรือวัดผลครูก็จะไม่ทราบได้ว่าศิษย์มีความเจริญก้าวหน้าในด้านใดมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ครูจึงควรจะระลึกอยู่เสมอว่า ณ ที่ใดมีการสอน ทีนั่นจะต้องมีการสอบ สำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียนนั้น ครูสามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ได้หลายวิธี ทั้งนี้อาจจะใช้หลาย ๆ วิธีในการประเมินผลครั้งหนึ่งหรือเลือกใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ในการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีหลายวิธี เช่น 1. การสังเกต หมายถึง การสังเกตพฤติกรรมการทำงาน การร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือความตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น 2. การสัมภาษณ์ หมายถึง การสัมภาษณ์เพื่อต้องการทราบความเจริญก้าวหน้าทางด้านการเรียนของนักเรียน ซึ่งอาจจะเป็นการสัมภาษณ์ในเนื้อหาวิชาการที่เรียน วิธีการเรียน หรือวิธีการทำงาน เป็นต้น 3. การทดสอบ หมายถึง การทดสอบความรู้ในวิชาการที่เรียน อาจจะเป็นการทดสอบทางภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติก็ได้ ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้นก็ควรมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา 4. การจัดอันดับคุณภาพ หมายถึง การนำเอาผลงานของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมาเปรียบเทียบกันในด้านคุณภาพ แล้วประเมินคุณภาพของนักเรียนแต่ละคนว่าคนใด ควรอยู่ในระดับใด 5. การใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจ เป็นวิธีการประเมินผลการเรียนอีกแบบหนึ่ง เพื่อสำรวจตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนทั้งของนักเรียนและของครู 6. การบันทึกย่อและระเบียนสะสม เป็นวิธีที่ครูจดบันทึกพฤติกรรมความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร 7. การศึกษาเป็นรายบุคคล หมายถึง เป็นวิธีการที่นิยมใช้กับนักเรียนที่มีปัญหาเป็นรายบุคคล ปัญหาในที่นี้หมายความว่า ควบคุมทั้งเด็กที่เรียนเก่งและเด็กที่เรียนอ่อนรวมทั้งเด็กมีปัญหาในด้านพฤติกรรมต่าง ๆ ด้วย 8. การใช้วิธีสังคมมิติ เป็นวิธีการที่นิยมใช้เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มเดียวกันประเมินคุณภาพของบุคคลในสมาชิกเดียวกัน เพื่อตรวจสอบดูว่า สมาชิกคนใดได้รับความนิยมสูงสุดในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลาย ๆ ด้านก็ได้ 9. การให้ปฏิบัติและนำไปใช้ เป็นวิธีการที่ครูต้องการทราบพัฒนาการทางด้านทักษะหรือการปฏิบัติงานของนักเรียนหลังจากที่ได้แนะนำวิธีการปฏิบัติให้แล้ว การประเมินผลการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา ครูควรประเมินความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนหลาย ๆ ด้าน ที่สำคัญ คือ 1. ด้านความรู้ (Cognitve Domain ) คือ การวัดความรู้ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล 2. ด้านเจตคติ ( Affective Domain) คือ การวัดความรู้สึก ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย ความเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่ และความขยันขันแข็งในการทำงาน เป็นต้น 3. ด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domian) คือการวัดด้านการปฏิบัติงานเพื่อต้องการทราบว่านักเรียนทำงานเป็นหรือไม่หลังจากที่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีแล้ว การวัดด้านการปฏิบัติงานหรือด้านทักษะนี้ ครูจะใช้มากหรือน้อยจะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะวิชาที่สอน วิชาใดเน้นการปฏิบัติงานก็จำเป็นต้องมีการวัดด้านการปฏิบัติงานให้มาก ส่วนวิชาใดเน้นให้เกิดความงอกงามทางด้านสติปัญญา การวัดด้านการปฏิบัติงานก็จะลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชาควรจะมีการวัดในด้านการปฏิบัติงานบ้างตามสมควร R (Research) – การวิจัย หมายถึง ครูต้องเป็นนักแก้ปัญหา เพราะการวิจัยเป็นวิธีการแก้ปัญหาและการศึกษาหาความจริง ความรู้ที่เชื่อถือได้โดยวิธี การวิจัยของครูในที่นี้ อาจจะมีความหมายเพียงแค่ค้นหาสาเหตุต่าง ๆ ที่นักเรียนมีปัญหาไปจนถึงการวิจัยอย่างมีระบบในชั้นสูงก็ได้ สาเหตุที่ครูต้องรับผิดชอบในด้านนี้ก็เพราะในการเรียนการสอนทุก ๆ วิชา ควรจะต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหาเด็กไม่ทำการบ้าน เด็กหนีโรงเรียน เด็กที่ชอบรังแกเพื่อน และเด็กที่ชอบลักขโมย เป็นต้น พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าครูสามารถแก้ไขได้ก็จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การที่ครูจะแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ครูจะต้องทราบสาเหตุแห่งปัญหานั้น วิธีการที่ควรจะทราบสาเหตุที่แท้จริงได้ ครูจะต้องอาศัยการวิจัยเข้ามาช่วย ดังนั้น หน้าที่ของครูในด้านการค้นคว้าวิจัยจึงเป็นงานที่ครูจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ครูทุกคนจึงควรศึกษากระบวนการวิจัยให้มีความรู้ ความเข้าใจด้วย ขั้นตอนในการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้ 1. การตั้งปัญหา 2. การตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา 3. การรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. สรุปผล สำหรับขั้นตอนของการทำงานวิจัยควรดำเนินงานตามลำดับต่อไปนี้ 1. การเลือกปัญหาสำหรับการวิจัย 2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3. การจำกัดขอบเขตและการให้คำจำกัดความของปัญหา 4. การตั้งสมมุติฐาน 5. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 6. การสร้างเครื่องมือสำหรับการวิจัย 7. การรวบรวมข้อมูล 8. การวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูล 9. การสรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ 10. การรายงานผลการวิจัย S (Service) บริการ หมายถึง การให้บริการ คือ ครูจะต้องให้บริการแก่สังคมหรือบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังต่อไปนี้ 1. บริการความรู้ทั่วไป ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถิ่น 2. บริการความรู้ทางด้านความรู้และสุขภาพอนามัย โดยเป็นผู้ให้ความรู้หรือเป็นผู้ประสานงานเพื่อดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชน 3. บริการด้านอาชีพ เช่น ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นเพื่อจัดฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้ประชาชนในท้องถิ่น 4. บริการให้คำปรึกษาหารือทางด้านการศึกษาหรือการทำงาน 5. บริการด้านแรงงาน เช่น ครูร่วมมือกับนักเรียนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน 6. บริการด้านอาคารสถานที่แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มาขอใช้อาคารสถานที่ในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ 2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครู 1. สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดีต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน 2. แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของตนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ครูต้องคำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย 3. พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร 4. ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 5. อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า 6. ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ 7. ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย 8. ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 9. ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของคน โดยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอครูไทยในสมัยกรุงสุโขทัยถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นคือพระภิกษุ สมัยนั้นภาระหน้าที่ของพระภิกษุที่เป็นครู คือต้องบิณฑบาตมาเลี้ยงดูศิษย์อบรมศิษย์ในทางศาสนานอกจากนั้นครูจะสอนเขียนอ่านหนังสือไทยและบาลีกิจกรรมในแต่ละวันจะแสดงให้ทราบถึงหน้าที่ของพระที่เป็นครูคือในช่วงเช้าหลังจากที่ท่านฉันข้าวเสร็จ มีการเรียนเขียนอ่าน ต่อหนังสือ ท่องบ่น ตอนก่อนเพล เด็กก็จะต้องเตรียมการให้พระฉันเพลหลังอาหารกลางวันเด็กก็ฝึกหัดเขียน อ่าน ท่องบ่น พระก็จำวัด พอถึงเวลาบ่าย 1 โมง หรือ 2 โมงพระก็ตื่นนอนมาตรวจให้และสอบดูผู้เขียนอ่านไปตอนเช้าว่าถูกต้องเพียงใด คนที่แม่นยำก็ได้เรียนต่อเติมขึ้นไป บางแห่งมีการตรวจสอบในตอนเช้า ตอนบ่ายจึงเรียนเขียนอ่านต่อ ถ้าใครเกียจคร้านก็จะถูกตีด้วยไม้ บ่าย 4 โมงครึ่ง หรือ 5 โมง จึงเลิกเรียน วันหยุดเรียนได้แก่วันพระ และวันที่มีพิธีต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2507 ).

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์หมายถึง
รายละเอียด
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคำนวณหรือเครื่องจักรกลที่มนุษย์มาเพื่อใช้ผ่อนแรงกาย และกำลังสมองในการทำงานของมนุษย์นั้น ๆ โดยการ ป้อนข้อมูล และคำสั่ง คอมพิวเตอร์ก็จะทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ให้โดยทั่วไปคอมพิวเตอร์จะมีด้วยกัน 3 ขนาด คือ1.1 MATNFRAME COMPTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีความสามารถในการเก็บบันทึกข้อมูลได้เป็นจำ นวนมาก และประมวลผลได้รวดเร็ว1.2 MINI COMPUTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กรองลงมาจาก MAINFRAME มีความสามารถในการเก็บข้อ มูลได้เป็นจำนวนมาก และประมวลผลได้รวดเร็วใกล้เคียง MAINFRAME1.3 MICRO COMPUTER หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า PRESONAL COMPUTER (PC ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการใช้งานทั่วๆ ไป ที่มีการเก็บข้อมูลไม่มากนัก ความเร็วในการประมวลผลนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องแต่ละระดับ2. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SYSTEM) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่างคือ2.1 HARDWARE คือ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบ 4 ส่วน ได้แก่2.1.1 หน่วยรับข้อมูล (INPUT UNIT) ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในส่วนนี้ ได้แก่ KEYBOARD เป็นต้น2.1.2 หน่วนประมวลผลกลาง (CENTRAL PROCESSING UNIT หรือ CPU) เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของ คอมพิวเตอร์ โดยควบคุมการทำงานของหน่วยต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกัน ประกอบด้วย1) รีจีสเตอร์ (Register) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลอยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ก่อนที่หน่วยประมวลผลกลางจะทำการประมวลผลจะต้องเรียกข้อมูลและโปรแกรมจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในรีจีสเตอร์ก่อน2) หน่วยควบคุม (Control Unit) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด ได้แก่ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรก ควบคุมการทำงานของหน่วยรับและแสดงผลข้อมูล ควบคุมการรับและส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลักกับรีจีสเตอร์3) หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logical Unit) เรียกย่อว่า ALU มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์และตรรก2.1.3 หน่วยแสดงผล (OUTPUT UNIT) หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นหรือเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในสื่อเก็บข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitorป เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk drive)2.1.4 หน่วยความจำ (MEMORY UNIT) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ2.1.4.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory) มี 2 อย่างคือ หน่วยความจำชนิดอ่านและเขียน (RAM หรือ Access Memory) หมายถึง หน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูลหรือคำสั่งได้ ซึ่งข้อมูลที่ถูกบันทึกนี้สามารถจะเรียกมาใช้งานหรือแก้ไขได้ หน่วยความจำชนิดนี้จะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยง ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไฟตกข้อมูลหรือคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะถูกลบหายหมด2) หน่วยความจำชนิดอ่านอย่างเดียว (ROM หรือ Read Only Memory) หมายถึง หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ ข้อมูลหรือคำสั่งถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะยังคงอยู่ได้ตลอดเวลาแม้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไฟตก ปกติแล้วข้อมูลที่เก็บบันทึกจะเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร ซึ่งทางโรงงานผู้ผลิตเครื่องจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลมาให้2.1.4.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หมายถึงหน่วยความจำภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก เช่น จานแม่เหล็ก (DISK) แถบบันทึก (TAPE) เป็นต้นหมายเหตุ หน่วยที่วัดพื้นที่ของหน่วยความจำ1 BYTE = 1 ตัวอักษร1 KILO BUTE (KB) = 1,024 BYTE1 MEGA BYTE (MB) = 1,024 KILO BYTE (KB)1,048,576 BYTE2.2 SOFTWARE หมายถึง โปรแกรมต่างๆ ที่สั่งให้เครื่องทำงานตามที่เราต้องการซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ2.2.1 Operating System (OS) โปรแกรมควบคุมระบบทำงานของเครื่องทั้งหมด ซึ่งถ้าขาดโปรแกรมระบบนี้แล้วจะทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องได้ ตัวอย่าง ของระบบควบคุมต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่1) Dos (Disk Operating System)2) Os/2 (Operating System / 2)3) Unix4) Xenixฯลฯ2.2.2 Assambler หรือ Compiles Software เป็นโปรแกรมหรือ Software ที่เป็นส่วนที่แปลภาษาของมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยภาษามนุษย์ต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาที่กำหนดได้แก่1) ภาษา Basic2) ภาษา C3) ภาษา Fortran4) ภาษา Cobol5) ภาษา Pascal6) ภาษา Prolog2.2.3 Application Software หรือโปรแกรมประยุกต์ คือ โปรแกรมสำหรับการใช้งาน ตามความต้องการของผู้ใช้ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท1) ประเภทการคำนวณ (SPREADSHEET) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในด้านการคำนวณ การเก็บข้อมูล การสร้างกราฟ การสร้างสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมาะกับงานทางด้านเก็บข้อมูล ประกอบกับมีการคำนวณตัวเลข การวิเคราะห์ผลจากรูปกราฟ การทำงบการเงิน การวางแผน เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม LOTUS 1-2-3 , โปรแกรม SYMPHONY เป็นต้น2) ประเภทการจัดการฐานข้อมูล (DATABASE) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในด้านการเก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ซึ่งสามารถทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย ความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ การจัดเรียงลำดับข้อมูลและสามารถสรุปผลเป็นรายงานเหมาะสมสำหรับงานเก็บข้อมูล เช่น ประวัติพนักงาน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม DBASE III , PLUS, โปรแกรม DBASE IV , โปรแกรม FOXPRO เป็นต้น3) ประเภทการจัดพิมพ์เอกสาร (WORD PROCESSOR) เป็นโปรแกรมที่เน้นในเรื่องของการจัดพิมพ์เอกสาร จดหมาย จดหมายเวียน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม CU WRITER , โปรแกรม WORD STAR, โปรแกรม WORD PERFECT , โปรแกรม WORD ราชวิถี , โปรแกรม SAHAVIRIYA WORD เป็นต้น4) ประเภทพิเศษ เป็นโปรแกรมที่ออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ด้านบัญชี การออกแบบโครงสร้างอาคาร เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้ เช่น GENEUS เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับบัญชี AUTOCAD เป็นโปรแกรมที่ช่วยในงานทางด้านสถาปนิคและวิศวกร เป็นต้น2.3 PEOPLEWARE หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้ 5 ระดับดังนี้2.3.1 System Manager ผู้จัดการระบบ มีอำนาจสูงสุด2.3.2 System Analysist นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ2.3.3 Programmer นักเขียนโปรแกรม2.3.4 Operator ผู้ควบคุมดูแลและบำรุงรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม2.3.5 User ผู้ใช้งาน3. ภาษาคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานด้วยตัวของมันเองได้ ต้องมีมนุษย์ควบคุมโดยการป้อนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะใช้ภาษาทางคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นมา ภาษาทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับดังนี้3.1 ภาษาระดับต่ำ (Low level Language) ได้แก่ 3.1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาที่ยากมาก คำสั่งแต่ละคำสั่งใช้รหัส (code) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขล้วน ๆ แต่เครื่องสามารถเข้าใจคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านทรานซิสเตอร์ เช่น 01,001,010 เป็นต้น3.1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นภาษาที่ปรับปรุงและพัฒนามาจากภาษาเครื่องแต่ยังไม่ดีเท่าที่ควร บางครั้งเรียกว่า ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) 3.2 ภาษาระดับสูง (High level Language) ได้แก่3.2.1 ภาษา FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslation เป็นภาษาที่เหมาะกับงานทางด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์3.2.2 ภาษา COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่เหมาะกับงานธุรกิจ3.2.3 ภาษา BASIC ย่อมาจาก Beginner's All-Purpose Symbolic Instruction Code เป็นภาษาที่มีรูปแบบเข้าใจง่าย สามารถประยุกต์โปรแกรมเข้ากับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ภาษานี้เหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา คอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงยังมีอีกมากมาย เช่น RPG, PL/1, PASCAL เป็นต้น ในบรรดาโปรแกรมคำสั่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้สั่งให้ Computer ทำงานจะมีโปรแกรมตัวหนึ่งที่สำคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ คือ Operating System ซึ่งโปรแกรมนี้จะเก็บไว้ที่แผ่น Diskette