วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์หมายถึง
รายละเอียด
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคำนวณหรือเครื่องจักรกลที่มนุษย์มาเพื่อใช้ผ่อนแรงกาย และกำลังสมองในการทำงานของมนุษย์นั้น ๆ โดยการ ป้อนข้อมูล และคำสั่ง คอมพิวเตอร์ก็จะทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ให้โดยทั่วไปคอมพิวเตอร์จะมีด้วยกัน 3 ขนาด คือ1.1 MATNFRAME COMPTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีความสามารถในการเก็บบันทึกข้อมูลได้เป็นจำ นวนมาก และประมวลผลได้รวดเร็ว1.2 MINI COMPUTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กรองลงมาจาก MAINFRAME มีความสามารถในการเก็บข้อ มูลได้เป็นจำนวนมาก และประมวลผลได้รวดเร็วใกล้เคียง MAINFRAME1.3 MICRO COMPUTER หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า PRESONAL COMPUTER (PC ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการใช้งานทั่วๆ ไป ที่มีการเก็บข้อมูลไม่มากนัก ความเร็วในการประมวลผลนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องแต่ละระดับ2. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ระบบคอมพิวเตอร์ (COMPUTER SYSTEM) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่างคือ2.1 HARDWARE คือ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบ 4 ส่วน ได้แก่2.1.1 หน่วยรับข้อมูล (INPUT UNIT) ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในส่วนนี้ ได้แก่ KEYBOARD เป็นต้น2.1.2 หน่วนประมวลผลกลาง (CENTRAL PROCESSING UNIT หรือ CPU) เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานของ คอมพิวเตอร์ โดยควบคุมการทำงานของหน่วยต่าง ๆ ให้ทำงานสอดคล้องกัน ประกอบด้วย1) รีจีสเตอร์ (Register) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลอยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ก่อนที่หน่วยประมวลผลกลางจะทำการประมวลผลจะต้องเรียกข้อมูลและโปรแกรมจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในรีจีสเตอร์ก่อน2) หน่วยควบคุม (Control Unit) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด ได้แก่ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรก ควบคุมการทำงานของหน่วยรับและแสดงผลข้อมูล ควบคุมการรับและส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลักกับรีจีสเตอร์3) หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logical Unit) เรียกย่อว่า ALU มีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์และตรรก2.1.3 หน่วยแสดงผล (OUTPUT UNIT) หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อให้ผู้ใช้ได้เห็นหรือเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในสื่อเก็บข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitorป เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk drive)2.1.4 หน่วยความจำ (MEMORY UNIT) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ2.1.4.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory) มี 2 อย่างคือ หน่วยความจำชนิดอ่านและเขียน (RAM หรือ Access Memory) หมายถึง หน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูลหรือคำสั่งได้ ซึ่งข้อมูลที่ถูกบันทึกนี้สามารถจะเรียกมาใช้งานหรือแก้ไขได้ หน่วยความจำชนิดนี้จะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยง ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไฟตกข้อมูลหรือคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะถูกลบหายหมด2) หน่วยความจำชนิดอ่านอย่างเดียว (ROM หรือ Read Only Memory) หมายถึง หน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขได้ ข้อมูลหรือคำสั่งถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะยังคงอยู่ได้ตลอดเวลาแม้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไฟตก ปกติแล้วข้อมูลที่เก็บบันทึกจะเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร ซึ่งทางโรงงานผู้ผลิตเครื่องจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลมาให้2.1.4.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) หมายถึงหน่วยความจำภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก เช่น จานแม่เหล็ก (DISK) แถบบันทึก (TAPE) เป็นต้นหมายเหตุ หน่วยที่วัดพื้นที่ของหน่วยความจำ1 BYTE = 1 ตัวอักษร1 KILO BUTE (KB) = 1,024 BYTE1 MEGA BYTE (MB) = 1,024 KILO BYTE (KB)1,048,576 BYTE2.2 SOFTWARE หมายถึง โปรแกรมต่างๆ ที่สั่งให้เครื่องทำงานตามที่เราต้องการซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ2.2.1 Operating System (OS) โปรแกรมควบคุมระบบทำงานของเครื่องทั้งหมด ซึ่งถ้าขาดโปรแกรมระบบนี้แล้วจะทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องได้ ตัวอย่าง ของระบบควบคุมต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่1) Dos (Disk Operating System)2) Os/2 (Operating System / 2)3) Unix4) Xenixฯลฯ2.2.2 Assambler หรือ Compiles Software เป็นโปรแกรมหรือ Software ที่เป็นส่วนที่แปลภาษาของมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยภาษามนุษย์ต้องอยู่ในรูปแบบของภาษาที่กำหนดได้แก่1) ภาษา Basic2) ภาษา C3) ภาษา Fortran4) ภาษา Cobol5) ภาษา Pascal6) ภาษา Prolog2.2.3 Application Software หรือโปรแกรมประยุกต์ คือ โปรแกรมสำหรับการใช้งาน ตามความต้องการของผู้ใช้ มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท1) ประเภทการคำนวณ (SPREADSHEET) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในด้านการคำนวณ การเก็บข้อมูล การสร้างกราฟ การสร้างสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเหมาะกับงานทางด้านเก็บข้อมูล ประกอบกับมีการคำนวณตัวเลข การวิเคราะห์ผลจากรูปกราฟ การทำงบการเงิน การวางแผน เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม LOTUS 1-2-3 , โปรแกรม SYMPHONY เป็นต้น2) ประเภทการจัดการฐานข้อมูล (DATABASE) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในด้านการเก็บข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ซึ่งสามารถทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย ความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ การจัดเรียงลำดับข้อมูลและสามารถสรุปผลเป็นรายงานเหมาะสมสำหรับงานเก็บข้อมูล เช่น ประวัติพนักงาน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม DBASE III , PLUS, โปรแกรม DBASE IV , โปรแกรม FOXPRO เป็นต้น3) ประเภทการจัดพิมพ์เอกสาร (WORD PROCESSOR) เป็นโปรแกรมที่เน้นในเรื่องของการจัดพิมพ์เอกสาร จดหมาย จดหมายเวียน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม CU WRITER , โปรแกรม WORD STAR, โปรแกรม WORD PERFECT , โปรแกรม WORD ราชวิถี , โปรแกรม SAHAVIRIYA WORD เป็นต้น4) ประเภทพิเศษ เป็นโปรแกรมที่ออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ด้านบัญชี การออกแบบโครงสร้างอาคาร เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้ เช่น GENEUS เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับบัญชี AUTOCAD เป็นโปรแกรมที่ช่วยในงานทางด้านสถาปนิคและวิศวกร เป็นต้น2.3 PEOPLEWARE หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้ 5 ระดับดังนี้2.3.1 System Manager ผู้จัดการระบบ มีอำนาจสูงสุด2.3.2 System Analysist นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ2.3.3 Programmer นักเขียนโปรแกรม2.3.4 Operator ผู้ควบคุมดูแลและบำรุงรักษา เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรม2.3.5 User ผู้ใช้งาน3. ภาษาคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานด้วยตัวของมันเองได้ ต้องมีมนุษย์ควบคุมโดยการป้อนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซึ่งคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะใช้ภาษาทางคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นมา ภาษาทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับดังนี้3.1 ภาษาระดับต่ำ (Low level Language) ได้แก่ 3.1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาที่ยากมาก คำสั่งแต่ละคำสั่งใช้รหัส (code) ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขล้วน ๆ แต่เครื่องสามารถเข้าใจคำสั่งได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านทรานซิสเตอร์ เช่น 01,001,010 เป็นต้น3.1.2 ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) เป็นภาษาที่ปรับปรุงและพัฒนามาจากภาษาเครื่องแต่ยังไม่ดีเท่าที่ควร บางครั้งเรียกว่า ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) 3.2 ภาษาระดับสูง (High level Language) ได้แก่3.2.1 ภาษา FORTRAN ย่อมาจาก FORmula TRANslation เป็นภาษาที่เหมาะกับงานทางด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์3.2.2 ภาษา COBOL ย่อมาจาก Common Business Oriented Language เป็นภาษาที่เหมาะกับงานธุรกิจ3.2.3 ภาษา BASIC ย่อมาจาก Beginner's All-Purpose Symbolic Instruction Code เป็นภาษาที่มีรูปแบบเข้าใจง่าย สามารถประยุกต์โปรแกรมเข้ากับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ภาษานี้เหมาะสมสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา คอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงยังมีอีกมากมาย เช่น RPG, PL/1, PASCAL เป็นต้น ในบรรดาโปรแกรมคำสั่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้สั่งให้ Computer ทำงานจะมีโปรแกรมตัวหนึ่งที่สำคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ คือ Operating System ซึ่งโปรแกรมนี้จะเก็บไว้ที่แผ่น Diskette

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น